ห้องพระนั้นไม่ได้เป็นสิ่งที่น่าสนใจสำหรับวัยรุ่นมากนัก จึงทำให้เกิความสงสัยต่างๆนานถึงการจัดห้องพระ ซึ่งนอกจากห้องพระนั้นไม่ได้มีไว้สำหรับวางพระพุทธรูปอย่างเดียว ยังมีกิจกรรมทางด้านสมาธิ ฝึกสติ ปฏิบัติธรรมร่วมกับคนในครอบครัว เราจึงควรรู้วิธีการจัดห้องพระให้มากขึ้นมาเริ่มกันดีกว่าค่ะว่าเราจะเริ่ม จากอะไรกันบ้างมาดูกันค่ะ
หลังจากคราวที่แล้วที่เราพูดถึงการเลือกตำแหน่งของห้องพระไปแล้วคราวนี้เรามาพูดถึงสำหรับบางท่านที่มีพื้นที่จำกัดในการจัดวางตำแหน่งห้องพระกันดีกว่าค่ะ ซึ่งทุกท่านไม่ต้องเป็นกังวลไปเพราะใช้หลักเกณฑ์ไม่ต่างจากที่เรากล่าวมาแล้วข้างต้นค่ะ แต่ที่ไม่เหมาะสมก็คือไม่ควรใช้ห้องนอนโดยเฉพาะคนมีคู่ ห้ามเด็ดขาด และทั้งนี้ตำแหน่งห้องพระไม่ควรตั้งตรงบันได ใต้บันได ใต้คาน และตั้งอยู่บนห้องน้ำรวมไปถึงมีกำแพงห้องน้ำที่ติดกับห้องพระไม่ควรเป็นอย่างยิ่งค่ะ เมื่อได้ตำแหน่งที่ตั้งของห้องพระแล้วถัดมาจะเป็นการจัดตำแหน่งแท่นบูชาซึ่งในปัจจุบันมี 2 แบบดังนี้
แบบที่ 1 ประเพณีนิยม คือการใช้โต๊ะหมู่บูชา ซึ่งสามารถหาซื้อมาใช้ได้เลย มีที่นิยมคือหมู่ 5 หมู่ 7 หมู่ 9 แล้วแต่จำนวนของพระพุทธรูปที่เรามี และมีขนาดต่างๆให้เลือกมากมาย ทั้งนี้แล้วแต่จำนวนพระพุทธรูปของเจ้าของบ้านด้วยมามีมากหรือน้อย การจัดวาง ตำแหน่งโต๊ะหมู่ก็ต้องถือเอาตำแหน่งของพระพุทธรูปเป็นสำคัญ โดยอาศัยตามความนิยมนับถือมาแต่ครั้งโบราณ ที่โบราณาจารย์ได้กำหนดเอาความถูกต้องไว้เป็นหลักเกณฑ์ ความเหมาะสมในการจัดตั้งพระพุทธรูปตามทิศต่างๆ การจะกำหนดเอาทิศใดนั้น ขอให้ยึดถือพระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกเป็นเกณฑ์ แล้วหาที่จัดตั้งพระพุทธรูปเพื่อความเป็นสิริมงคล ดังนี้
- ตั้งพระพุทธรูปให้พระพักตร์หันไปสู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่า ทิศเศรษฐ์ จะประกอบการงานใดๆ เป็นที่หนึ่ง
- ตั้งพระพุทธรูปให้พระพักตร์หันไปสู่ทิศตะวันออก เรียกว่าทิศราชา จะประกอบการงานใดๆ ใหญ่โต จะสำเร็จสมดังใจหมาย
- ตั้งพระพุทธรูปให้พระพักตร์หันไปสู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ เรียกว่า ทิศปฐม ท่านว่า ไม่ดี และจะกระทำการใดๆ มิค่อยเกิดลาภผล ตกต่ำ แต่พอมีใช้
- ตั้งพระพุทธรูปให้พระพักตร์หันไปสู่ทิศใต้ เรียกว่า ทิศจัณฑาล จะประกอบการงานใดๆ แสนยาก ลำบากกาย ผลประโยชน์ที่ได้ไม่คุ้มกับที่ลงทุนลงแรง
- ตั้งพระพุทธรูปให้พระพักตร์ หันไปสู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ เรียกว่า ทิศวิปฏิสาร จะประกอบการงานใดๆ ก็มักนำความเดือดร้อนมาสู่ครอบครัวและเพื่อนบ้านใกล้เคียง
- ตั้งพระพุทธ รูปให้พระพักตร์หันไปสู่ทิศตะวันตก ทิศกาลกิณี จะทำงานสิ่งใดก็เกิดลังเล ไม่เป็นมงคล ระวังจะเกิดภัยร้ายแรงแก่ตนเองด้วยประการต่างๆนานา
- ตั้งพระพุทธรูปให้ พระพักตร์หันไปสู่ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เรียกว่า ทิศอุทธัจจะ จะทำงานสิ่งใดๆ ผลงานไม่แน่นอน รวนเร ไม่ได้เรื่อง ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน
- ตั้ง พระพุทธรูปให้พระพักตร์หันไปสู่ทิศเหนือ เรียกว่า ทิศมัชฌิมาปฏิปทา จะทำการงานใดๆ ผลงานอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง ไม่ดี ไม่ชั่ว ไม่สูง ไม่ต่ำ
แบบที่ 2 แบบทันสมัย เป็นการออกแบบที่เน้นความต้องการของเจ้าของบ้านเป็นหลัก โดยจะมีการจัดเรียงแบบไล่ลงมาซึ่งสามารถวางพระพุทธรูปได้มากกว่าแบบแรก อีกทั้งยังทำความสะอาดได้ง่ายกว่าและนอกจากนี้ยังมีการออกแบบเพิ่มเติมที่นอกเหนือจากการวางพระพุทธรูป ก็คือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆไม่ว่าจะเป็นรูปเคารพของพระอริยสงฆ์ แม้แต่องค์กวนอิม หรือเทพทางพราหมณ์ เช่นพระพิฆเนศ เป็นต้นทำให้ทุกอย่างรวมกันจนมั่วไปหมดเราจึงควรจัดง่ายๆ ดังนี้
- พระบรมสารีริกธาตุ หรือพระพุทธรูป ให้ตั้งไว้สูงสุด เรียงตามลำดับ พระพุทธรูปเหมือนกัน ควรเอาองค์ที่ใหญ่ที่สุด เป็นประธานอยู่กลาง หรืออยู่สูงสุด ลดหลั่นกันลงมา
- รองลงมาก็เป็นรูปของพระอริยสงฆ์ ลดหลั่นกันลงมา ตามลำดับอาวุโส
- รูป บูชาอย่างอื่น เช่น องค์กวนอิม เทพอื่นๆเช่น พระพิฆเนศ พระพรหม หรือ พระรูป ร. 5 ควรแยกหิ้งบูชาไว้ต่างหาก ถ้าแยกไม่ได้จะต้องไม่สูงกว่าพระพุทธรูป
ในการจัดทั้งสองแบบนั้นถือว่าแล้วแต่เจ้าของบ้านว่าถนัดใช้งานแบบไหน แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการหมั่นทำบุญสวนมนต์เจริญภาวนา และการดูและรักษาความสะอาด เพื่อความเป็นสิริมงคลนั้นเอง
แหล่งข้อมูล : 3mbuildingfilm
บทความอื่นๆน่าสนใจ
- เสริมมงคล ด้วยการจัดห้องพระให้เหมาะสม (ตอนจบ)
- เสริมมงคล ด้วยการจัดห้องพระให้เหมาะสม (ตอนแรก)
- เคล็ดลับการตกแต่งระเบียงคอนโด เป็นพื้นที่สุดเก๋
- เทียนหอม ใช้อย่างไรให้หอม
- ลงทุนในคอนโด ปลอดภัย ไม่มีเสี่ยง
- ค่าใช้จ่าย กรณีเปลี่ยนสัญญาคอนโด
- ฮวงจุ้ยนาฬิกา ติดตรงไหนดีสุด
- พื้นที่บ้านมีรอยแตกร้าว ส่งผลต่อฮวงจุ้ย
- ไอเดียดีๆ เพิ่มสีสันให้ผนัง
- วิธีการดูแลโทรทัศน์ให้ใหม่กิ๊ง
- คอนโด ตอบโจทย์หลายข้อ
- 5 ข้อ ตรวจสอบก่อนซื้อคอนโดฯ (ที่ยังไม่สร้าง)
- ฮวงจุ้ยสวนหน้าบ้าน
- ฮวงจุ้ยคอนโด จัดอย่างไรให้ รุ่งเรือง
- เทคนิคการดูแลโซฟาตัวโปรด
- Built-in พังจะทำอย่างไร ?
- ของดีและข้อเสีย ของผนังอิฐมวลเผา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น