วันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Built-in พังจะทำอย่างไร ?



เฟอร์นิเจอร์เป็นทั้งของใช้และของตกแต่งไปในตัว ปัจจุบันมีเฟอร์นิเจอร์หลากหลายให้เลือก วันนี้เราขอแนะนำให้คุณรู้จักกับเฟอร์นิเจอร์บิ้วท์อิน (Bulit-in) ซึ่งกำลังได้รับความนิยม เพราะเหมาะสำหรับบ้านหรือคอนโดยุคใหม่ที่ต้องการพื้นที่ใช้สอยที่กว้างขึ้น และวิธีการรับมือกับปัญหาของเฟอร์นิเจอร์บิ้วท์อิน

เฟอร์นิเจอร์ ติดตั้งกับที่ (Built-in Furniture) คือเฟอร์นิเจอร์ที่ได้รับการออกแบบเฉพาะพื้นที่ ทำให้มีขนาดที่พอเหมาะกับห้อง ไม่สามารถเคลื่อนย้ายไปพื้นที่อื้นได้
ข้อดี คือ มีความแข็งแรงทนทานสูง เพราะยึดติดกับพื้นและกำแพง, ลดปัญหาการใช้พื้นที่สิ้นเปลือง, มีความเป็นเอกลักษณ์ ไม่ซ้ำใคร, ดูแลรักษาง่าย
ข้อเสีย คือ ไม่สามารถเคลื่อนย้ายไปพื้นที่อื่นได้, การติดตั้งหรือการประกอบต้องใช้ช่างที่มีความชำนาญ, มีราคาแพงกว่าเฟอร์นิเจอร์แบบลอยตัว

ปัจจุบันเราจะเห็นว่าเกือบทุกคอนโด จะมีเฟอร์นิเจอร์ติดตั้งกับที่ (Built-in Furniture) นั้นก็เป็นเพราะความต้องการที่จะประหยัดพื้นที่ แต่ก็เน้นฟังก์ชั่นที่ครบถ้านสมบูรณ์ วัสดุส่วนใหญ่ที่ใช้ทำ Built-in จะเป็นไม้ ทั้งไม้แบบทั่วไปและไม้อัด ซึ่งมีอายุการใช้งานนานหลายปี แล้วเราจะมีวิธีการรักษามันอย่างไร เพื่อให้มันอยู่กับเราไปได้นานที่สุด

วิธีการดูแลรักษา
คล้ายกับวิธีการดูแลเฟอร์นิเจอร์ไม้ทั่วไป ซึ่งสามารถทำได้ง่ายๆ ดังนี้
1. รักษาความชื้นของเฟอร์นิเจอร์ อย่าให้โดนน้ำหรือความชื้นมากๆ หากโดนน้ำให้รีบทำความสะอาดแล้วเป่าให้แห้ง
2. ระวังอย่าให้โดนแดด เพราะแสงแดดจะทำให้เฟอร์นิเจอร์เสื่อมสภาพเร็ว
3. หากมีคราบเปื้อนให้รีบใช้ผ้าชุบน้ำสบู่เช็ด และใช้ผ้าแห้งซับน้ำให้แห้งเร็วที่สุด
4. ทาสารเคลือบบ่อยๆ เพื่อรักษาผิวของไม้และป้องกันปลวก

Built-in พังจะทำอย่างไร ?
หากเป็นเฟอร์นิเจอร์ทั่วไปคงไม่ต้องปวดหัวมากมาย ส่วนไหนพังก็รื้อออกมาซ่อมใหม่ หรือเปลี่ยนส่วนประกอบใหม่ แต่สำหรับ Built-in เป็นเรื่องยาก เพราะการรื้อแต่ละครั้งอาจหมายถึงต้องรื้อทั้งแผง
1. เฟอร์นิเจอร์ สีร่อน บวม วิธีการแก้ไขคือใช้กระดาษทรายขัดสีออก จากนั้นลงสีใหม่ หากส่วนประกอบบิดงอ อาจถอดเปลี่ยนเฉพาะส่วน
2. เฟอร์นิเจอร์ ผิวเปื้อน สีอมน้ำ วิธีการแก้ไขคือ ทำเฟอร์นิเจอร์ให้แห้งโดยการใช้ผัดลมและเปิดหน้าต่างให้อากาศถ่ายเท จากนั้นทำการขัดสีใหม่
3. เฟอร์นิเจอร์ผิวหน้าเสียหาย ดูว่าสาเหตุเกิดจากอะไร หากเกิดจากความชื้นทำให้ผิวแห้งก่อน จากนั้นดูว่าเสียหายเยอะไหม ถ้าไม่เยอะ ทำการซ่อมแซมเฉพาะส่วนนั้นๆ

แหล่งข้อมูล : 3mbuildingfilm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น